000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > ซับเสียงเฉื่อย...เป็นอย่างไร แก้อย่างไร
วันที่ : 25/01/2016
12,933 views

ซับเสียงเฉื่อย...เป็นอย่างไร แก้อย่างไร

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

การฟังที่ถูกต้อง จะฟังได้นานและอยู่ยั่งยืน การฟังแบบแต้มสีสัน อาจเรียกความสนใจได้ชั่วครู่ยาม แต่จะสร้างความเบื่อหน่าย ไม่ยั่งยืน

       เป็นความเข้าใจผิดอย่างมากๆที่คิดว่า ซับเสียงที่อืด, ช้า(ไม่กระชับ,ฉับไว) เป็นซับที่ให้เสียงอิ่มนุ่ม ฟังสบายหู ผ่อนคลาย ทั้งๆที่ฟังไปนานๆจะน่าเบื่อ ขาดความคม, กระชับ, ฉับไว

       เสียงซับที่ถูกต้อง ต้องคม, กระชับ, ลงลึก ไม่โด่ง ฉับไว และมีน้ำหนัก มีพลังอัดฉีด ถ่ายทอดความถี่หลักและความถี่คู่ควบได้ครบ ไม่เฉื่อย, ยานคราง, หรือกระด้างห้วนจนแข็ง ต้องให้ได้ครบทั้งความถี่หลัก, ความถี่คู่ควบ(ทั้งด้านสูงและต่ำ) เสียงสะอาด ปราศจากการสั่นกระพือค้างหรือยาน หัวโน้ตคมชัด และกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับความถี่คู่ควบของมัน

       ซับเสียงเฉื่อย, ช้า, ยานคราง เกิดจากอะไร

1. ระบบเบสตู้เปิด ตัวดอกซับเองไม่ตึงตัวพอ หย่อนยาน ขันดอกซับไม่กระชับแน่น เสียงต่ำลึกก็จะโด่งหรือก้อง ถึงขนาดสั่นค้างไม่หยุดฉับไวทันที ช่องไฟระหว่างตัวโน๊ตไม่มีเสียงลากยาวคราง ระบบเบสตู้ปิด ถ้าออกแบบไม่ดี เสียงกระชับเกินไปจน กดความถี่คู่ควบจมหายหมด เบสมีสิทธิ์แข็ง, ห้วน มีแต่ตัวโน๊ตเป็นไม้หน้าสาม ขาดเนื้อหาของเบส

2. เกิดจากภาคขยายเสียงแบบ CLASS D ที่มีความสามารถหยุดการสั่นค้างของลำโพงได้ไม่ดี(DAMPING FACTOR ต่ำไป) เสียงซับจะลากยาว ไม่คมกระชับ มีแต่ความดัง ไม่มีรายละเอียด และกลมกลืนกับเสียงกลางได้ยาก จะเหมือนไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

3. ดอกซับมีความยืดหยุ่นมากไป เช่นใหญ่เกินไป อุ้ยอ้าย ไม่กระชับ, ตึงตัว ยวบยาบง่าย การคืนตัวไม่ฉับไวพอ เสียงซับจะออกยานคราง

4. เสียงลำโพงในตู้ซับ เสียงบวม เฉื่อย หรือย้อนทิศ ทำให้เสียงจากซับออกฟุ้งแบน เสียงจากซับจะไม่มีทรวดทรงที่จะกลืนกับกลางแหลมได้

5. ภาคขยายในตู้ซับถูกจูนมาให้เสียงช้าหนืดหนาด(มักเกิดจากการทำ LEVEL MATCHING จากภาคหนึ่งไปอีกภาคไม่ดี โดยอาจจงใจให้ได้ทุ้มเป็นก้อนๆลูกๆ แต่ขาดความคมชัด, ฉับไว)

6. ภาคจ่ายไฟในตู้ซับแบบมีภาคขยายเสียงในตัว(ACTIVE) มีค่าความจุของตัวเก็บประจุมากเกินไป เมื่อเทียบกับขนาดหม้อแปลงไฟ และตัวแปลงไฟ AC เป็น DC ของภาคจ่ายไฟมีความฉับไวต่ำ หม้อแปลงไฟทำมาไม่ดี ส่งสนามแม่เหล็กไปรบกวนภาคขยาย มีการม้วนมัดสายไฟภายใน ไม่คลี่กระจายออก ภาคแปลงไฟ AC/DC เฉื่อย

7. ภาคขยายในตู้ซับแอคตีฟ ใช้ทรานซิสเตอร์ขาออกที่ตอบสนองได้ไม่ฉับพลัน(เน้นราคาถูกและทนลูกเดียว) โดยไม่ลงทุนกับวงจรป้องกันดีๆ และใช้ทรานซิสเตอร์ที่ตอบสนองความถี่ได้กว้าง

8. สายไฟภายใน ทองแดงไม่ดี สวิงกระแสได้ช้า, หรือย้อนทิศอยู่ เสียงจึงไม่มีทรวดทรง, ขอบเขต ที่จะกลมกลืนกับกลางแหลมได้(สายลำโพง, สายสัญญาณภายใน ถ้าย้อนทิศก็อาการเดียวกัน)

9. สายไฟขาเข้าและขาออกของหม้อแปลงไฟภายในตู้ซับ ถูกมัดอยู่ด้วยกัน

10. มีการใส่วงแหวนเฟอไรท์กันกวนในสายไฟ เสียงจึงคลุมเครือ, เหมือนเฉื่อย

11. ดอกลำโพงยึดไม่แน่นกระชับ ตัวตู้ไม่หนัก, นิ่ง(สั่นกราว) ขั้วต่อ, สาย, สั่น ทุ้มจึงขาดความคมชัด, ฉับไว

12. เวลาติดตั้ง ปรับระดับเสียงจากตู้ซับ และเลือกจุดตัดแบ่งความถี่ไม่ลงตัว หรือเฟสไม่ถูกต้อง ทำให้เสียงจากซับไม่ประสานกลมกลืนกับกลางแหลม จึงเหมือนมาช้ากว่า

13. จัดวางตู้ซับไม่ถูกต้อง เกิดการก้อง

14. สายสัญญาณเสียงที่เข้าตู้ซับย้อนทิศ, หรือเสียงเฉื่อย หรือเดินครบ 2 เส้น(ทั้งๆที่เส้นเดียวก็พอ เพราะภายใน สัญญาณจากทั้ง 2 เส้นก็จะมารวมกันอยู่ดี) เสียงลดความคมชัดลง

15. การตั้งระดับเสียงเข้าซับจากแอมป์ยังไม่ลงตัวดี(LEVEL MATCHING) ยังไม่ดี เกิดเสียงบวม, เหมือนเฉื่อย

16. ตัวตู้ซับไม่หนักแน่น, แข็งแรงพอ, ขันตอกลำโพงไม่แน่นพอ

17. ปรับเสียงขาเข้าซับ(ที่ตู้ซับ), ขาออกจากแอมป์ ยังไม่ได้ที่(LEVEL MATCHING ยังไม่ดี)

18. สายไฟบ้าน(AC) ที่เดินมาเข้าตู้ซับ สายนั้นย้อนทิศอยุ่ เสียงจากซับจะอั้น, แบน ไม่กระเด็นหลุดเป็นลูกๆออกมา

19. วางเครื่องเสียงทับซ้อนกัน ภาคจ่ายไฟกวนกันเอง

20. สายเสียงที่เข้าตู้ซับเสียงบวม, เฉื่อย, ย้อนทิศ

21. จัดเฟสของซับไม่สอดรับกับเฟสของลำโพงกลางแหลม(ย้อนทิศกัน)

22. ตู้ซับไม่หนักแน่น, แข็งแรงพอ, ขันดอกลำโพงไม่แน่นกระชับ

23. ต้องบัดกรีสายลำโพงเข้ากับขั้วดอกซับ อย่าใช้การเสียบ

24. แยกสายต่างๆภายในตู้ซับ คลี่สายไฟอย่าม้วนทับตัวเอง การเสียบสายให้ใช้บัดกรีแทน ถ้าดอกซับติดสติกเกอร์ที่ตูดแม่เหล็กให้ลอกออก

25. สายสัญญาณเสียงที่เข้าตู้ซับต้องคมชัด ฉับไว ถูกทิศ หัว RCA ต้องแน่นกระชับ

26. สายไฟ AC ของตู้ซับต้องเสียบขาถูก จะได้เสียงคม, กระชับ, เป็นตัวตน

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459